วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ทำอย่างไรจึงจะมีบุคลิกภาพที่ดี


ทำอย่างไรจึงจะมีบุคลิกภาพที่ดี




        ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” นั้น สามารถนำมาใช้ได้กับผู้ให้บริการทุกคนที่จะต้องคอยตอบคำถาม ประสานงาน ให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการทั้งหลาย นั่นหมายความว่าการมีบุคลิกภาพที่ดีย่อมมีเสน่ห์ดึงดูดใจ เป็นเสมือนโซ่คล้องใจลูกค้าให้เกิดความประทับใจ ความมั่นใจในตัวผู้ให้บริการคนนั้น ซึ่งมิใช่เป็นเพียงแค่พนักงานขายที่ทำหน้าที่ขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น
          นอกจากนี้การมีบุคลิกภาพที่ดีสามารถบ่งบอกนัยของการทำงานบางอย่างนั่นก็คือ การเตรียมความพร้อมที่มีต่อการทำงาน เป็นผู้พร้อมที่จะรับผิดชอบงานในทุกรูปแบบ พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและอุปสรรคนานาประการ รวมถึงมีความพร้อมต่อการสร้างปฎิสัมพันธ์และการพูดคุยกับผู้อื่น
          ดังนั้นบุคลิกภาพจึงเป็นเสมือนภาพลักษณ์ภายนอกที่สำคัญ ถือว่าเป็นหน้าตาและกระจกส่องภาพพจน์ของตนเองที่มีต่อสายตาผู้อื่น การสร้างบุคลิกภาพที่ดีของตนเองนั้นไม่ยากเลย ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความต้องการของตน ดิฉันมีเทคนิคและหลักปฏิบัติง่าย ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ดังต่อไปนี้
การจัดทรงผม
          ลองคิดดูว่า หากคุณติดต่อกับคุณ ก เพื่อขอข้อมูล เมื่อคุณเดินเข้าไปในห้องคุณแล้วเหลือบมองขึ้นไปที่ทรงผมที่รกรุงรัง ดูเหมือนว่าจะลืมหวีผม ผมเผ้ายุ่งเหยิง คุณจะรู้สึกอย่างไร? แน่นอนว่าหลายคนคงจะไม่ยากคุยด้วย หรือ รีบ ๆ คุยเพื่อให้เสร็จธุระของตน เหตุเพราะดูเหมือนว่าผู้ให้บริการจะไม่ค่อยเต็มใจหรือขาดความพ้อมที่จะให้ความช่วยเหลือหรือให้ข้อมูลที่ตนต้องการ…. เห็นไหมค่ะว่า คุณจะเสียลูกค้าไปโดยคิดไม่ถึงเลยเชียว
          แนวทางพัฒนาตนเอง : ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง คุณควรสังเกตการจัดทรงผมของตนว่าดูเรียบร้อยหรือไม่ ทั้งนี้ขอให้คุณเลือกทรงผมให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส และบุคลิกภาพของตนเองด้วย เช่น หากคุณ (ผู้หญิง) จะเข้าพบลูกค้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร คุณไม่ควรเลือกแต่งทรงผมแบบเอากิ๊บมาติดไว้ข้างๆ หู เพราะคิดว่าจะได้ดูอาโนะเน๊ะ ผู้ใหญ่จะได้เอ็นดูเรา ดิฉันขอบอกได้เลยค่ะว่า “ คิดผิดถนัด ”
การแต่งกาย
          คุณจะรู้สึกอย่างไร หากหัวหน้างานเดินเข้าทักทาย ในขณะที่เสื้อผ้าหลุดลุ่ย หรือเพื่อนร่วมงานใส่เสื้อผ้าที่มีกลิ่นเหม็นอับ หรือลูกน้องใส่เสื้อผ้าดูเซ็กซี่ กระโปรงสั้นจู๋ เสื้อแขนกุด มีเว้าๆ แวม ๆ พบว่าการแต่งกายเช่นที่ว่านี้จะทำให้เกิดความคิดมากมายของผู้พบเห็นที่มีต่อการแต่งกายเช่นนั้น บางคนคิดอาจคิดอนาจาร จินตนาการเลยเถิดกันเข้าไปใหญ่ ลูกค้าบางคนอาจไม่ชอบใจพลอยทำให้ไม่อยากพูดคุยด้วยก็เป็นได้
          แนวทางพัฒนาตนเอง : การแต่งกายถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก คุณควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับรูปร่างและบุคลิกลักษณะของตน ทั้งนี้ขอให้ดูความเหมาะสมของบุคคลและสถานที่ที่คุณจะเข้าไปพบด้วย เช่น บริษัทอนุญาตให้แต่งชุดฟรีสไตล์มาทำงานในวันศุกร์ได้ คุณก็กลับใส่กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุด ไปหาลูกค้าภายนอก เหตุเพราะบริษัทให้แต่งกายแบบสบาย ๆ ในวันนั้นได้ นอกจากการเลือกซื้อเสื้อผ้าให้เหมาะสมแล้ว คุณควรจะดูแลสภาพความเรียบร้อยของเสื้อผ้าที่แต่งด้วย ควรจะรีดและจัดเสื้อให้เรียบร้อย ที่สำคัญคุณไม่ควรปล่อยให้เสื้อผ้าส่งกลิ่นเหม็นอับหรือมีกลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์
การเดิน นั่ง และยืน
          ท่าเดิน นั่ง และยืน จะบ่งบอกได้ถึงลักษณะนิสัยใจคอของคุณว่าคุณเป็นคนอย่างไร มีอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการเป็นอย่างไร คนบางคนเดินแกว่งแขนไปมา มีการยกไหล่เล็กน้อยในขณะแกว่งแขน พบว่าท่าเดินแบบนี้ดูเหมือนจะหาเรื่องใส่ตัวเอง บอกให้คนอื่นรู้ว่า “ ข้าใหญ่ ข้าแน่” ในขณะที่คนบางคนยืนหรือเดินห่อไหล่ แบบหมดอาลัยตายอยาก พบว่าท่าเดินแบบนี้จะแสดงให้เห็นว่าคนๆ นั้นเป็นคนที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าที่จะแสดงออก… แล้วคุณยังอยากจะมีท่าเดิน นั่ง และยืนแบบนี้หรือไม่
          แนวทางพัฒนาตนเอง : การพัฒนาตนเองด้วยท่าเดิน นั่ง และยืนที่ดูดีจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะการแสดงออกเหล่านี้จะบ่งบอกถึงบุคลิกภาพที่มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเอง หลักง่าย ๆ ของการเดิน นั่ง และยืนที่ดูดีก็คือ ยืดตัว หน้าตรง เดินแกว่งแขนไปมาเล็กน้อย ทั้งนี้การมีท่าเดิน นั่ง และยืนที่ถูกลักษณะ นอกจากจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณเอง ไม่เป็นโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก เช่น ปวดหลัง ปวดข้อต่อ เป็นต้น
การใช้สายตา และแววตา
          หากคุณคุยอยู่กับใครสักคน แล้วเค้ามองออกไปที่อื่น แลดูเหมือนจะสนใจคนอื่นมากกว่าตัวคุณเอง หรือคนบางคนที่คุณคุยด้วยมีแววตาเศร้าหมอง สลดหดหู่ สีหน้าอิดโรย ดูแล้วเหมือนจะไม่ได้หลับได้นอน และยิ่งถ้าคุณเจอลูกน้อง ลูกค้า หรือหัวหน้างานมีสายตาและแววตาเช่นที่ว่านี้ คุณจะรู้สึกอย่างไร คงจะมีน้อยคนนักที่ยังอยากจะคุยกับบุคคลเหล่านี้ด้วย เฉกเช่นเดียวกันค่ะ หากคุณแสดงออกด้วยสายตาและแววตาเช่นนี้ ก็คงจะมีคนบางคน หรือหลายคนที่ไม่อยากจะคุยด้วย
          แนวทางพัฒนาตนเอง : สายตาและแววตาที่แสดงออกมาจะเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจผู้อื่นได้ ดังนั้นสิ่งแรกเลยก็คือ คุณจะต้องสบตากับผู้ที่พูดด้วย ไม่หลบหรือหลีกเลี่ยงการปะทะสายตา การสบสายตานั้นมิใช่การจ้องมองแบบเอาเลือดเอาเนื้อ ควรเป็นการแสดงออกด้วยความรู้สึกเอาใจใส่ และความปรารถนาที่อยากจะพูดคุยด้วย รวมถึงการมีแววตาที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ ความเป็นกันเอง และความร่วมมือต่าง ๆ ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อน การดูแลสุขภาพของตน และการมีสภาพจิตใจที่ดีจะช่วยทำให้คุณสามารถมีสายตาและแววตาที่ดี สดใส และแจ่มใสอยู่เสมอ
การใช้คำพูด และน้ำเสียง
          คงไม่มีใครชอบพูดคุยกับคนที่ใช้น้ำเสียงหรือคำพูดที่ไม่ถูกกาลเทศะ คนบางคนทำร้ายตนเองด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่สื่อออกมา เป็นคำพูดที่แสดงความไม่สุภาพ ก้าวร้าว สักแต่ว่าจะพูด โดยไม่คำนึงว่าผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไร เช่น หากหัวหน้าพูดกับคุณว่า “ พูดหลายหนแล้วนะงานนี้ สอนแล้วไม่รู้จักจำ มีสมองไว้คั่นหูหรือไงเนี่ย” ถ้าคุณได้ยินคำพูดแบบนี้ คุณจะรู้สึกอย่างไร?
          แนวทางพัฒนาตนเอง : มีหลากหลายวิธีเพื่อป้องกันมิให้คุณตายเพราะคำพูด ทางแรกคือ นิ่งเงียบ ใช้สถานการณ์ของการเงียบสยบความรู้สึก ไม่พูดจะดีกว่าพูดออกมา แต่ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดใจทนไม่ไหวจะต้องพูดแล้วล่ะก็ ดิฉันขอให้เลือกใช้คำพูดแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่นจะดีกว่า หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดดูถูกดูหมิ่น เหน็บแนม หรือใช้คำพูดก้าวร้าว เอ๊ะอะโวยวาย
การแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ธรรมดา
          การแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการเอามือล้วงกระเป๋า ผิวปาก หรือยักคิ้ว ยักไหล่ เวลาพูดคุยกับผู้อื่น หรือแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่แปลกไปจากคนอื่น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ดูแล้วเสียบุคลิกภาพ เสียภาพลักษณ์ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ ขาดความเลื่อมใสและศรัทธาต่อผู้พบเห็น
บุคลิกภาพที่ดีในการทำงาน
          แนวทางพัฒนาตนเอง : คุณควรสังเกตตนเองว่าได้แสดงพฤติกรรมผิดปกติที่แปลกไปจากคนอื่นหรือไม่ รวมถึงการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ควรต่อว่าหรือแสดงความโกรธเคือง หากมีเพื่อน หรือบุคคลอื่นตักเตือนหรือบอกกล่าวว่าคุณแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ควรทำ ซึ่งคุณอาจแสดงจนเป็นนิสัยไปแล้ว แต่ทว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะไม่ส่งผลดีต่อภาพพจน์และบุคลิกภาพของตนเอง ดังนั้นคุณควรพยายามที่จะละเลิก และยกเลิกการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีเหล่านั้น พฤติกรรมบางอย่างอาจใช้เวลา แต่ก็ยังดีกว่าที่คุณไม่เคยให้เวลาและใส่ความพยายามที่จะละทิ้งพฤติกรรมเหล่านั้นลงไป
          ดังนั้นการมีบุคลิกภาพที่ดีย่อมส่งผลโดยตรงต่อภาพพจน์ที่ดีที่มีต่อสายตาของลูกค้า ถือว่าเป็นภาพภายนอกที่คุณจะต้องแต่งแต้มเติมสีสรรเข้าไป เพื่อให้ลูกค้าชอบและประทับใจ และนั่นหมายความว่า คุณจะเป็นผู้หนึ่งที่สามารถผูกจิตผูกใจลูกค้าด้วยภาพลักษณ์ภายนอกที่คุณเองเป็นผู้สร้างขึ้นมา

ประเภทของบุคลิกภาพ

ประเภทของบุคลิกภาพ




      บุคลิกภาพภายนอก คือ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคน สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แบ่งได้เป็น 4 หมวด คือ

1. รูปร่างหน้าตา
2. การแต่งกาย
3. กิริยาท่าทาง
4. การพูด
      บุคลิกภาพภายใน คือ สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ แก้ไขได้ยาก เช่น
1. ความเชื่อมั่นในตนเอง
2. ความซื่อสัตย์สุจริต
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4. ความรับผิดชอบ

หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ

      การยืน เดิน นั่ง เป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล งามอิริยาบถ คือ การเดิน ยืน นั่ง
เปิด-ปิดประตูขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม
การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จัก         กราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติ ตนในงานเลี้ยงต่าง ๆ การไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น
      บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือ ไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี

ที่มา https://sites.google.com/site/sukkapapkonthai/prapheth-khxng-bukhlikphaph

การพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน



การพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน

     ในการดำเนินงาน จะมีทั้งงานการผลิต การบริหารการขาย การให้บริการ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละงานจะอาศัยคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป บางงานอาศัยลักษณะส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายในมาก บางงานอาศัยส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายนอกมาก แต่โดยภาพรวมแล้วกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานอุตสาหกรรมควรประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 
     1. ความเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสืบค้น ช่างแสวงหาคำตอบในปัญหาทุกสิ่งทุกอย่าง บุคคลที่ประสบความสำเร็จ มักเป็นคนประเภทที่บอกตนเองอยู่เสมอว่า ไม่มีสิ่งใดที่เขาไม่รู้ ไม่มีปัญหาใดที่ตอบไม่ได้ ไม่มีงานใดที่ทำไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดที่จะเอาชนะไม่ได้ ฯลฯ ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้บุคคลมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทั้งทางด้านความคิดและการกระทำ 
      2. ความเป็นผู้ไม่อยู่นิ่งเฉยกับที่ แต่หนักแน่น คือ ชอบการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้ได้อะไรแปลกใหม่อยู่เสมอ แต่จะยังไม่เปลี่ยนหากยังขาดข้อมูลที่เด่นชัดว่า เปลี่ยนแล้วจะต้องไปเผชิญอะไรข้างหน้า 
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งนี้เนื่องจากงานในอุตสาหกรรมเป็นงานที่แข่งขัน ถ้าองค์กรใดมีบุคคลที่มี         3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หาวิธีการแปลกใหม่ก็จะทำให้งานก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว 
มีหัวใจเป็นคนทำงาน คือใช้สมองและความคิดในการทำงาน คำนวณผลประโยชน์ที่ได้รับ คำนึงถึงผลเสียที่อาจ จะเกิดขึ้น 
     4.มีหัวใจเพื่องาน คือมีใจรักในการทำงาน ทำงานเพื่องาน มิใช่ทำงานเพื่อแลกกับค่าแรงหรือเงินเดือนเพียงอย่างเดียว แต่มีความตั้งใจทำงาน สู้งาน และผูกพันกับงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ 
มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทั้งนี้จะพบว่าในวงการการทำงานเน้นมนุษยสัมพันธ์มากโดยเฉพาะในเรื่องของการสื่อสาร เนื่องจากการทำงานไม่เพียงแต่จะเข้ากับบุคคลอื่นได้ ยังต้องสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้เป็นอย่างดีและสอนงานคนอื่นได้ด้วย องค์การทำงานมักไม่นิยมคนเก่งที่ถ่ายทอดหรือสอนงานหรือทำงานกลุ่มไม่เป็น 
      5.มีลักษณะผู้นำ ทั้งนี้เนื่องจากความสามารถในการนำเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้ทำงาน เนื่องจากงานที่ดีจะต้องมีความเจริญก้าวหน้า ขยายกิจการและสาขาใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่มีความรู้ความสามรถ และมีประสบการณ์ในการทำงานมานาน เมื่อได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ถ้าหากเขาเป็นผู้บริหารที่มีความเป็นผู้นำสูงย่อมนำพาธุรกิจให้ก้าวหน้าได้ดีกว่า 
     6.มีความเป็นระเบียบและมีวินัย ลักษณะในส่วนนี้จะส่งผลให้มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา ทำงานอย่างมีเป้าหมาย ที่ชัดเจน สามารถคาดคะเนความสำเร็จได้ล่วงหน้าและรู้จักทำงานอย่างมีแผน มีระบบงานที่ดี 
    7. แสดงออกได้โดยเหมาะสมตามกาลเทศะอันควร ผู้บริหารแสดงตนได้เหมาะสมทั้งการแต่งกาย การเข้าสมาคม ท่าทางการเดิน การพูด อิริยาบถต่างๆ ตลอดจนความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และการ     8. แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม จะช่วยเสริงสร้างตนเองให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่ต้องติดต่อเกี่ยวข้อง 
   9. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อมได้ดี คือมีความสามารถในการวางตนและปฏิบัติงานให้ผสมกลมกลืนกับ สภาพแวดล้อมทั้งบุคคล เวลา สถานที่ และสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา




การพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน

      บุคลิกภาพของบุคคลมิใช่เรื่องตายตัวเสมอไป เปลี่ยนแปลงได้ พัฒนาได้ ตามบทบาทและอาชีพที่ดำเนินอยู่ การพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน อาจแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ด้วยกันคือ การพัฒนาบุคลิกภาพโดยทั่วไป การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการเป็นผู้นำ และการพัฒนาบุคลิกภาพด้านความเป็นผู้ใหญ่ สำหรับความเป็นผู้นำนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ผ่านมา ดังนั้นในที่นี้จะกล่าวถึงการพัฒนาบุคลิกภาพโดยทั่วไปและบุคลิกภาพด้านความเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้

1 การพัฒนาบุคลิกภาพโดยทั่วไป


1.1 การพัฒนาบุคลิกภาพทางกาย ควรใช้เครื่องแต่งกายที่สะอาดเรียบร้อย ใช้ให้เหมาะสมกับรูปร่างของตน ไม่ฟู่ฟ่าหรือนำสมัยจนเกินไป บุคลิกภาพทางกายเป็นสิ่งประทับใจครั้งแรก ถ้าใครโดนวิจารณ์ว่าเห็นใหม่ๆ ไม่ชอบ แต่พอใกล้ชิดแล้วจึงรู้ว่าน่าคบ
นอกจากการดูแลตนเอง เรื่องการแต่งกายและความสะอาด ควรตรวจสอบตนเองเกี่ยวกับภาษาและกิริยาท่าทางด้วย ดังคำพังเพยที่ว่า “สำเนียงบอกภาษา กิริยาบอกสกุล” คำพังเพยนี้ยังใช้ได้ดีอยู่แต่บุคคลก็ต้องไม่ลืมว่า หากใครมีชาติกำเนิดหรือมีพื้นฐานดั้งเดิมที่ไม่ดีนัก กิริยาท่าทางและภาษาที่ใช้ประจำของตน ก็สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ มารยาทดี ภาษาดี ไม่จำเป็นต้องมาจากรากฐานชาติสกุลที่ดีเสมอไปทุกคนพัฒนาได้

1.2 การพัฒนาบุคลิกภาพทางสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ และความสนใจ ผู้ทำงานโดยทั่วไป ไม่จำเป็นจะต้องฉลาดเฉลียวมีไหวพริบสูงเสมอไป จึงจัดว่ามีบุคลิกภาพดี ถ้าทุกคนฉลาดมากเท่ากันไปหมด คิดอะไรเหมือนๆ กัน สนใจสิ่งคล้ายๆ กัน โลกคงน่าเบื่อ ดังนั้นเมื่อบุคคลคิดว่าตนเองมีความสามารถด้านใดเป็นพิเศษก็มุพัฒนาด้านนั้น แต่ก็ไม่ควรละเลยที่จะสะสมความรอบรู้หรือความสนใจด้านอื่นๆ ด้วย เพราะจะทำให้มีความคิดและความสนใจที่กว้างขึ้น อันเป็นสิ่งจูงใจให้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น มีคนอยากคบอยากสนทนาด้วยมากขึ้น และมีความมั่นใจในตนเอง คุยกับใครๆ คบกับใครๆ ได้สบายใจ ดังนั้นการมีส่วนร่วมในการทำงานของสโมสร สมาคม และองค์การต่างๆ ร่วมในการกีฬาการละเล่น หรือในกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ กว้างขวางขึ้น เชื่อมั่นในตนเอง

1.3 การพัฒนาบุคลิกภาพทางอารมณ์ บุคคลที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพทางอารมณ์ อาจเริ่มต้นโดยสังเกตและคิดหาเหตุผลจากพฤติกรรมของเด็กในตัวเด็กจะมีการแสดงอารมณ์ต่างๆ การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กจะเป็นไปตามธรรมชาติ เช่น เมื่อรักเมื่อชอบก็จะแสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งที่รักหรือชอบอย่างเต็มที่ เมื่อโกรธ เกลียดไม่ชอบก็แสดงออกมาไม่ปิดบัง อารมณ์เหล่านี้เมื่อบุคคลเห็นเด็กแสดง มักรู้สึกว่าไม่สมควรทำและพยายามให้เด็กหยุดพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ซึ่งถ้าผู้ใหญ่เป็นผู้แสดงพฤติกรรมดังกล่าวเสียเอง สังคมก็น่าจะไม่ยอมรับ ดังนั้นวิธีการที่ดีก็คืออย่าปล่อยให้มีอารมณ์พลุ่งพล่าน เพราะจะทำให้บุคคลก้าวร้าวหยาบคายต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้บริหาร ลูกค้า และบุคคลทั่วไป หรือแม้แต่การแสดงออกซึ่งความรักความชอบก็ควรจะสำรวมให้อยู่ในระดับที่พอดีเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปด้วย

1.4 การพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม บุคลิกภาพทางสังคม เช่น กิริยาท่าทาง น้ำเสียง ภาษาพูด การแต่งกาย และการวางตน เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่จูงใจ ให้บุคคลอื่นๆ อยากคบหาสมาคมด้วย แต่ก็เป็นเพียงเบื้องต้น เท่านั้น ปัจจัยที่จะทำให้มิตรภาพยั่งยืนมาจากคุณสมบัติที่อยู่ภายในตัวบุคคล เช่น น้ำใจที่ให้ผู้อื่น ความไม่เห็นแก่ตัว ความซื่อสัตย์ ความบริสุทธิ์ใจ การรู้จักใจเขาใจเรา ความเป็นคนตรงต่อเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้บุคคลควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติได้ และเมื่อทำไปนานๆ ก็จะเกิดความเคยชิน และกลายเป็นลักษณะประจำตัว

เกี่ยวกับการแสดงออกทางสังคมนี้ มีแนวคิดที่ไม่ตาย ยังเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคมสมัยใหม่ ได้แก่ หลักการพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวของยอร์ช วอชิงตัน ท่านประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ดังนี้ 
- การกระทำทุกอย่างในหมู่คณะ ควรที่จะทำโดยแสดงให้เห็นว่าเราเคารพผู้ที่ร่วม 
- อย่าหลับในเมื่อคนอื่นๆ กำลังพูดอยู่ อย่านั่งเมื่อผู้อื่นยืน อย่าพูดในเมื่อควรจะนิ่ง อย่าเดินใน เมื่อคนอื่นๆ หยุดเดิน 
- ทำสีหน้าให้ชื่นบาน แต่ในกรณีที่มีเรื่องร้ายแรงพึงทำสีหน้าให้เคร่งขรึมบ้าง 
- อย่าโต้เถียงกับผู้ที่อยู่เหนือกว่า แต่พึงเสนอข้อวินิจฉัยของตนแก่ผู้นั้นอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน 
- เมื่อผู้ใดพยายามทำงานจนสุดความสามารถแล้ว แม้จะไม่ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี ก็ไม่ควรจะตำหนิติเตียนเขา 
- อย่าใช้ถ้อยคำรุนแรงติเตียนหรือดุด่าผู้หนึ่งผู้ใด 
- อย่าผลีผลามเชื่อข่าวลือที่ก่อความกระทบกระเทือนให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด 
- อย่ารับทำในสิ่งที่ตนไม่สามารถทำได้ แต่เมื่อสัญญาอย่างใดแล้วก็ต้องทำตามสัญญานั้น 

   หลักการพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคมทั้ง 8 ประการของท่านอดีตประธานาธิบดียอร์ช วอชิงตัน ดังกล่าวนี้หากปฏิบัติได้ครบถ้วนไม่ว่า จะเป็นนักธุรกิจหรือ ผู้ทำงานอื่นใด ก็น่าจะมีแนวโน้มได้รับความสำเร็จในชีวิตที่นอกเหนือจากการมีบุคลิกภาพดี


ที่มา  https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/personality-development.htm

บุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์

บุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์




บุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์นั้น เป็นบุคลิกภาพที่ควรหลีกเลี่ยงตามที่ แฮรี่ สแต็ค ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan) ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งหมด 6 ข้อ
1.ประเภทไม่เป็นมิตรกับผู้ใด ปกติแล้วสาเหตุนี้จะเกิดจากการที่บิดามารดาเคี่ยวเข็ญ บุตรมากเกินไป โดยตั้งเป้าให้บุตรได้ดีจนเกินไป นอกจากนั้นบิดา มารดามักจะไม่พอใจกับผลงานของบุตรที่ถึงแม้จะทำได้ดีแล้วก็ตาม จึงทำให้บุคคลประเภทนี้ มักมีอารมณ์ขุ่นมัว ไม่ชอบคบค้าสมาคม ไม่สุงสิงกับใคร หงุดหงิดง่าย มีความเครยดตลอดเวลา
2.ประเภทต้องพึ่งพาคนอื่น สาเหตุของบุคคลประเภทนี้มักเกิดจากการใช้อำนาจในการเลี้ยงดูบุตร ของบิดามารดา ทำให้บุคคลนี้ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ มักจะไม่สามารถคิดหรือตัดสินใจ การทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตัวเอง ต้องมีคนคอยแนะนำหรือออกคำสั่งตลอด
3.ประเภทหมกมุ่นอยู่กับตัวเอง บุคคลประเภทนี้สาเหตุเกิดจากความผิดหวังในการมีสัมพันธภาพระหว่างตนเองกับบุคคลอื่น จึงทำให้ไม่ไว้วางใจใครง่ายๆ ผิดหวังจากบุคคลอื่นง่ายๆ และมักเก็บความแค้นฝังไว้ในใจตลอดเวลา
4.ประเภทไม่สุงสิงกับใคร สาเหตุส่วนใหญ่ของบุคคลประเภทนี้มักเกิดจากการไม่ได้รับความรักเท่าที่ควรในวัยเด็ก จึงทำให้เมื่อโตขึ้น มีความคิดในการอยู่คนเดียวมากขึ้น หรือ พึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น และมักจะน้อยใจง่าย แต่ไม่พูดออกมา
5.ประเภทรักร่วมเพศ สาเหตุมักเกิดจากการที่บิดา มารดาไม่สามารถอบรมเลี้ยงดู หรือสื่อความหมายเกี่ยวกับบทบาททางเพศให้กับบุตรได้อย่างถูกต้อง ทำให้ขาดสัมพันธภาพที่ดีกับบุตร ทำให้บุคคลประเภทนี้มักจะมีการปรับตัวในการแก้ปัญหาในเรื่องเพศแบบผิดๆ
6.ประเภทชอบคัดค้าน สาเหตุของบุคคลประเภทนี้มักเกิดจากในวัยเด็กมักเป็นบุคคลที่ชอบเรียกร้องความสนใจจากบิดา มารดาหรือผู้อื่น ต้องการเป็นคนสำคัญ เมื่อโตขึ้นจึงยังคงมีนิสัยเดิมๆ เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการทำให้ตนนั้นรู้สึกไม่มีความสุข จึงมักจะคัดค้านผู้อื่นอยู่เสมอ เพราะบางครั้งบุคคลประเภทนี้จะรู้สึกถึงการคุกคามความสุขของเขา

ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library_2/extension1/introduction_to_personality/05.html


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ



       บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ Persona (Per + Sonar) ซึ่งหมายถึง Mask แปลว่าหน้ากากที่ตัวละครใช้สวมใส่ในการเล่นเป็นบทบาทแตกต่างกันไปตามได้รับ
      ความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่า “บุคลิกภาพ” ที่ยอมรับโดยทั่วไป คือคุณลักษณะ ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลแสดงออกโดยพฤติกรรมที่บุคคลนั้นมีต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนกำลังเผชิญอยู่ และพฤติกรรมนี้จะคงเส้นคงวาพอสมควร
      นักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “บุคลิกภาพ” ไว้ดังนี้
      
      คลักฮอห์น (Kluckhohn) ได้กล่าวว่าบุคลิกภาพของมนุษย์ทั่วไปจะมีลักษณะร่วม ที่เหมือนกันในฐานะเป็นมนุษย์ และจะมีลักษณะส่วนหนึ่งที่คล้ายกับทุกคนในสังคมและวัฒนธรรมที่ตนเป็นสมาชิก แต่ขณะเดียวกันจะมีคุณสมบัติที่พิเศษเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เช่น คนไทยคนใดคนหนึ่งจะมีบุคลิกภาพส่วนตัวร่วมกับ “มนุษย์” โดยทั่วไป และจะมีบุคลิกภาพของตนโดยเฉพาะ ออลฟอร์ต (Allphort) ให้คำจำกัดความของคำว่า “บุคลิกภาพ” ว่าเป็นการจัดและรวบรวมเกี่ยวกับระบบทางร่างกายและจิตใจ (Psychophysical systems) ภายในตัวของแต่ละบุคคล และจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ยังส่งผลให้แต่ละคนมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำ แบบใคร

        ฮิลการ์ด (Hilgard) ได้ให้ความหมายของบุคลิกภาพว่า หมายถึงลักษณะส่วนรวมของบุคคลแต่ละคนอันเป็นแนวทางในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่ละคนมีรูปแบบของ การแสดงออกของพฤติกรรมต่าง ๆ กัน

      เบอร์นาร์ด (Bernard) ได้ให้ความหมายของบุคลิกภาพว่า หมายถึง ผลรวมทั้งหมดของท่าทาง รูปร่างลักษณะทางกาย พฤติกรรมที่แสดงออก แนวโน้มการกระทำ ขอบเขตความสามารถทั้งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในและที่แสดงออกมา

     ฮาร์ดแมน (Hartman) ได้ให้ความหมายของบุคลิกภาพว่า หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดที่บุคลิกแสดงออกโดยกิริยาอาการ ความนึกคิด อารมณ์ นิสัยใจคอ ความสนใจ การติดต่อกับผู้อื่น ตลอดจนรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย และความสามารถในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น

       บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล แสดงออกโดยพฤติกรรมที่บุคคลนั้นมีต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนกำลังเผชิญอยู่ และพฤติกรรมนี้จะคงเส้นคงวาพอสมควรลักษณะของแบบแผนพฤติกรรมและแบบแผนการคิดที่เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะบุคคลในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนกันไปทุกอย่าง แม้พี่น้องหรือฝาแฝดก็ตาม ทั้งนี้เพราะมนุษย์แต่ละคนมีความพิเศษและความเป็นหนึ่งในตัวขอแต่ละคน (Unique)

        โดยทั่วไปบุคลิกภาพของมนุษย์จะแสดงลักษณะของบุคคลนั้น ๆ ในด้านต่อไปนี้
1. ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตน (Individuality) ลักษณะที่ทำให้คนนั้นแตกต่างไป จากคนอื่น ๆ เช่น พูดจาโผงผา โอบอ้อมอารี หรือรักสนุก ฯลฯ
2. ความคงเส้นคงวา (Consistency) ของพฤติกรรม เป็นแนวโน้มที่บุคคลมักแสดงพฤติกรรมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งทุกครั้งหรือบ่อยครั้ง เช่น บางคนเวลาโกรธจะเงียบไม่ยอมพูดจา หรือบางคนโกรธแล้วชอบกรีดร้องและทำลายขว้างปาสิ่งของ เป็นต้น

ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/introduction_to_personality/01.html

ลักษณะของบุคลิกภาพที่ดี

ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพดี



1. ความสามารถในการรับรู้เข้าใจสภาพความจริงอย่างถูกต้อง
          คุณสมบัติข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญเบื้องแรกของผู้มีสุขภาพจิตที่ดีที่สมบูรณ์ การไม่เข้าใจและรับรู้สภาพความจริง หรือการบิดเบือนความจริง มักจะนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตได้บุคคลที่มีสุขาพจิตที่สมบูรณ์ ควรจะมีความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสภาพความจริง ทั้งภายนอกและภายในอย่างถูกต้องถ่องแท้ตามสภาพของมัน โดนไม่บิดเบือนความจริง ด้วยความต้องการหรือความรู้สึกส่วนตัว
2. การแสดงอารมณ์มนลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม
     การมีอารมณ์ลักษณะที่สมเหตุสมผลกับความตริง และเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การสูญเสียบุคคลที่เรารักใคร่ ย่อมทำให้เกิดอารมณ์เศร้าเสียใจ ผู้ที่มีสุขภาพจิตดียังสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทั้งนี้มิได้หมายถึงการอดกลั้นอามรมณ์เกินขนาด จนถึงขั้นไม่ปฏิบัติภารกิจตามปกติประจำได้ การควบคุมอารมณมากเกินไป มีผลร้ายต่อจิตใจ
3. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
      คนเราเกิดมาแล้วไม่าสามารถอยู่ตามลำพังได้ แต่จะต้องเริ่มพึ่งพาและเกาะเกี่ยวผู้ใหญ่ตั้งแต่แรกเกดิ ตลอดชีวิตของคนเราต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อความสุขส่วนตัว และเพื่อสวัสดิภาพอันดีของมวลมนุษย์ ในแง่สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ทางสังคม เน้นหนักไปในด้านสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับผู้อื่น มากกว่าที่จะเน้นความสัมพันธ์ของมวลมนุษย์ในวงกว้าง
ทั้งนี้หมายถึงความสามารถ 3 ประการ คือ
3.1 ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ สนิทสนมมากกว่าคนรู้จักตามปกติอและมีส่วนร่วมในสังคม
3.2 ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ ในการแสวงหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น การได้รับความยกย่องชื่อสียง
3.3 ความสามารถในการสร้างควาามรักและความนับถือกันและกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวปราศจากความเสแสร้ง และการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือการตักตวงโฉยโอกาส
4. ความสามารถในการทำงานที่อำนวยคุณประโยชน์
         การตระหนักถึงคุณค่าของการทำงาน และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่การงานที่ให้คุณประโยชน์ เป็นคุณลักษณะสำคัญอีกด้านหนึ่งของสุขภาพจิตที่ดี คนเราจำเป็นต้องเลือกอาชีพ และประกอบอาชีพการงานที่ตนถนัดเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และความเชื่อมั่นและเคารพตนเอง
5. ความรักและความต้องการทางเพศ
        นักสุขภาพจิตมีความเห็นพ้องในแง่ที่ว่า ในเรื่องความรัก และความต้องการทางเพศนี้ ความรักใคร่ผูกพันมีความสำคัญยิ่งกว่าความใคร่ทางเพศ ความใคร่เป็นเพียงส่วนประกอบด้านหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เท่านั้น
6. ความสามารถในการพัฒนาตน
        เกี่ยวกับตนนี้ มีสิ่งที่ควรเข้าใจ 2 ประการ คือประการแรก ตนมี 2 รูป รูปหนึ่ง คือ ตนที่แท้จริง และ อีกรูปหนึ่ง คือ ตนที่แสดงออกต่อผู้อื่น ในแง่สุขภาพจิตถือว่าความสามารถในการผสมผสานตนทั้ง สองเข้าด้วยกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการปฏิบัติตนตามบทบาทที่สังคมกำหนดนี้ บางครั้งคนเราเกิดความรู้สึกขัดขืน ซึ่งหมายความว่า การที่จะปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อื่น ก็กระทบกระเทือนสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตนเองในสังคม